อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง
ห้วยเสนง เป็นอ่างเก็บน้ำของโครงการชลประทาน อยู่ห่างจากตัวเมืองสุรินทร์ไปทางถนนสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214) ประมาณ 5 กิโลเมตร (บริเวณหลัก ก.ม. ที่ 5-6 ) แยกซ้ายมือไปางถนนริมคลองชลประทาน ประมาณ 4 กิโลเมตร ห้วยเสนงเป็นอ่างเก็บน้ำที่มีสันเขื่อนสูง สันเขื่อนเป็นถนนราดยาง เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสุรินทร์ ภายในที่ทำการชลประทานมีพระตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และมีที่พักให้นักท่องเที่ยวที่สนใจ ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ หัวหน้าโครงการชลประทานจังหวัดสุรินทร์ อ่างเก็บน้ำห้วยเสนง อ.เมือง จ.สุรินทร์ โทร. 044-511966
สัญลักษณ์จังหวัดสุรินทร์
ตราประจำจังหวัดสุรินทร์
รูปพระอินทร์ทรงช้าง
ชื่อของจังหวัด เป็นคำสนธิของคำสองคำ คือ สุระ กับ อินทร์
หมายถึง พระอินทร์ผู้เก่งกล้าสามารถ
ตราจังหวัด กำหนดสัญญลักษณ์ประกอบด้วย พระอินทร์ ประทับขัดสมาธิบนหลังช้าง หัตถ์ขวาทรงตรี หัตถ์ซ้ายทรงพระแสงขอช้าง มีภาพปราสาทสลักปรักหักพังเป็นฉากเบื้องหลัง
ธงประจำจังหวัดสุรินทร์
ชื่อพรรณไม้ ดอกกันเกราชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb.
ประวัติจังหวัดสุรินทร์
สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนานจังหวัดหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอนว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร อาศัยเพียงข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ตลอดจนคำบอกเล่าของผู้สูงอายุที่เล่าต่อ ๆ กันมา โดยเชื่อกันว่าเมืองสุรินทร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ ๒ , ๐๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมีอำนาจอยู่ในบริเวณนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นาน จนกระทั่งปี พ . ศ . ๒๓๐๖ จึงปรากฏหลักฐานว่าหลวงสุรินทรภักดี ( เชียงปุม ) ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองที ได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองที มาตั้งอยู่บริเวณบ้านคูประทาย บริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ ๒ ชั้น มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสิรินทรภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านคูประทายเป็น เมืองประทายสมันต์ และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดี เป็นพระสุรินทรภักดีศรีณรงค์จางวาง ให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง ในปี พ . ศ . ๒๓๒๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ เมืองประทายสมันต์ เป็น เมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์อยู่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ ๔๕๗ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๘ , ๑๒๔ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๓ อำเภอ ๔ กิ่งอำเภอ คืออำเภอเมืองสุรินทร์ ชุมพลบุรี ท่าตูม จอมพระ ปราสาท กาบเชิง รัตนบุรี สนม ศีขรภูมิ สังขะ สำโรงทาบ บัวเชด ลำดวน กิ่งอำเภอศรีณรงค์ กิ่งอำเภอพนมดงรัก กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์และกิ่งอำเภอโนนกิ่ง อาณาเขต ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด และมหาสารคาม ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ ทิศใต้ ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)